โรงเรียนบ้านแม่จัน(เชียงแสนประชานุสาสน์)
ระเบียบ/ข้อปฎิบัติ

ข้อปฏิบัติของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา

ข้อปฏิบัติของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา.pdf

หน้าที่และความรับผิดชอบของวิชาครู

      หน้าที่ของครูในแง่คุณลักษณะที่ประสงค์นั้น รัญจวน อินทรกำแหง (2529:27) สรุปไว้ดังนี้

          1. ครูเป็นผู้ที่สามรถให้ทางแห่งความรอดแก่ศิษย์ ความรอดมีอยู่สองทาง คือ ทางรอดทางกายและทางรอดทางใจ

          2. ครูต้องสามารถดำรงความเป็นครูอยู่ได้ทุกอิริยาบถ

          3. ครูต้องสามารถเป็นตัวอย่างตามกำสอนแก่ศิษย์ สอนอย่างไรทำอย่างนั้น

                การพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบในเชิงของกฎระเบียนข้อบังคับที่ค่อนข้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือบทบัญญัติต่างๆ เป็นลักษณะที่ค่อนข้างบังคับว่าครูต้องกระทำกิจเหล่านั้น ส่วนการพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบของครูในอีกด้านหนึ่งนั้นก็เป็นการพิจารณาหน้าที่ของครูในเชิงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เป็นไปตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมและจารีตประเพณี

                หน้าที่ความรับผิดชอบของครูมี 2 ลักษณะดังนี้

                1.หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติหรือกฎหมายกำหนด

                หน้าที่ความรับผอดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติอาจพิจารณาได้จากระเบียนปฏิบัติทางราชการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นและได้ประกาศใช้โดยหน่วยงานของราชการของรัฐ เช่น ระเบียนคุรุสภาว่าด้วย จรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539 ประกาศจรรยาบรรณครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ หรือระเบียนคุรุสภาว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยต่างๆ

                หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องสัมพันธ์ด้วยนั้น อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์ ต่อสถาบันวิชาชีพครูอันได้แก่ เพื่อนครูและสถานศึกษา และหน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อสังคมอันได้แก้ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน หน้าที่ความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติหรือกฎหมายกำหนดมีดังนี้

            1.1หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญเป็นอันดับแรก อาจสรุปหน้าที่ของครูต่อศิษย์ได้ดังนี้

           1.1.1 ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่

           1.1.2อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานมิได้

           1.1.3ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อศิษย์

           1.1.4 สุภาพเรียบร้อย ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์

           1.1.5 รักษาความลับของศิษย์

          1.1.6 ครูต้องรักและเมตตาศิษย์โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลัใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

           1.1.7 ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

          1.1.8 ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางการ วาจาและจิตใจ

         1.1.9 ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์

         1.1.10 ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์กระทำการ ใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

     1.2 หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อสถาบันวิชาชีพครูอันได้แก่ ตนเองเพื่อนครูและสถานศึกษาในการประกอบวิชาชีพครู โดยทั่วไปจะเป็นการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้น ฉะนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูจะต้องมีต่อตนเอง และเพื่อนร่วมงานทั้งในระดับผู้บังคับบัญชา และบุคลากรอื่นๆ ในสถานศึกษา ซึ่งอาจจะแยกแยะได้ดังนี้

       1.2.1ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูด้วยกันในทางสร้างสรรค์ เช่น การแนะนำแหล่งวิทยาการให้กัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาชีพซึ่งกันและกัน

         1.2.2 รักษาความสามัคคีระหว่างครู และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวกคิดทำลายกลั่นแกล้งซึ่งกันและกัน เต็มใจช่วยเหลือเมื่อเพื่อนครูขอความช่วยเหลือ เช่น เป็นวิทยากรให้แก่กัน ช่วยงานเวรหรืองานพิเศษซึ่งกันและกัน

         1.2.3 ไม่แอบอ้างหรือนำผลงานทางวิชาการของเพื่อนครูมาเป็นของตนทั้งยังต้องช่วยเหลือให้เพื่อนครูอื่นๆ ได้สร้างสรรค์งานวิชาการอย่างเต็มความสามารถด้วย

        1.2.4 ประพฤติตนด้วยความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน และให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่ว่าจะสังกัดหน่วยงานใด

       1.2.5 ปฏิบัติตามระเบียบ และแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

  1.2.6 รักษาชื่อเสียงของตนไม่ให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว ไม่กระทำการใดๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์และชื่อเสียงของครู

  1.2.7 ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม ไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

        1.2.8 ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

       1.2.9 ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

        1.3 หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อสังคมอันได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนหน้าที่ความรับผิดชอบของครูนั้นย่อมอยู่ที่ศิษย์เป็นเป้าหมายสำคัญ แต่การสร้างเสริมศิษย์นั้นยังมีปัจจัยที่เกี่ยวอย่างอื่นด้วยคือผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ครูจึงต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบต่อสถาบันทั้งสองนั้นด้วยซึ่งอาจแยกแยะ ได้ดังนี้

        1.3.1 ครูต้องเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

         1.3.2 ครูต้องยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือและไม่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

         1.3.3 ครูต้องให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองในการอบรมสั่งสอนศิษย์อย่างใกล้ชิดตลอดจนการร่วมแก้ปัญหาของศิษย์ทุกๆด้าน ทั้งด้านการศึกษาเล่าเรียน ความประพฤติ สุภาพพลานามัย ปัญหาทางจิตใจ ฯลฯ

             1.3.4ครูต้องให้คำปรึกษาหารือและแนะนำผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในปกครองอย่างใกล้ชิด ตลอดจนแนะแนวการศึกษาต่อและการเลือกอาชีพของศิษย์

             1.3.5ครูต้องรายงานข้อมูลต่างๆ ของศิษย์ให้ผู้ปกครองทราบสม่ำเสมอและถูกต้องไม่บิดเบือน

              1.3.6ครูพึงให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ปกครองและชุมชนในทางสร้างสรรค์ตามความเหมาะสม

            1.3.7ครูพึงประพฤติเป็นผู้นำในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน

      1.3.8 ครูพึงร่วมพัฒนาชุมชนทุกๆด้าน ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ ในการดำเนินชีวิตแก่สมาชิกทุกคนในชุมชน

                2. หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียม

                หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมนี้ เป็นหน้าที่ที่สังคมคาดหวังให้ครูปฏิบัติ เป็นสำนึกที่สืบทอดกันมาในสังคมไทย ดังจะศึกษาได้จาก ความเป็นครูสถิตในหทัยราช ซึ่งเป็นผลงานการศึกษาค้นคว้าของ เรืองวิทย์ ลิมปนาท (2538 : 23-38) ในบทที่ว่าด้วย แนวพระราชดำริด้านการศึกษาและความเป็นครู ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลนเดช จะเห็นได้ว่าพระบรมราโชวาทในวาระและในโอกาสต่างๆนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถึงบทบาทหน้าที่ของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมสอดแทรกไว้ด้วยเสมอๆ

                นอกจากพิจารณาจากพระบรมราโชวาทต่างๆแล้ว อาจพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมได้จากคำสอนในหมวดธรรมเรื่อง การอนุเคราะห์ศิษย์ 5 ประการ ซึ่งวงการครูไทยยึดเป็นแบบปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานดังนี้

        2.1 แนะนำสั่งสอนดี ครูย่อมมีหน้าที่ในการแบะนะสั่งสอนวิทยาการต่างๆ โดยต้องรับผิดชอบด้วยการสั่งสอนดี ได้แก่ สอนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ สอนได้ชัดเจนหรือให้เป็นรูปธรรม สอนให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะเล่าเรียนโดยมีกำลังใจและมั่นใจที่จะเรียนและสอนให้สนุกให้ศิษย์เรียนได้อย่างไม่เบื่อหน่ายหรือสรุปสั้นๆว่า ชี่ให้ชัด ชวนปฏิบัติลงมือกระตือรือร้น แจ่มใสสนุก

       2.2 ให้การศึกษาเล่าเรียนดี ครูต้องเป็นผู้จัดสถานการณ์ เพื่อให้ศิษย์ได้ศึกษาเล่าเรียนได้ดี ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านต่างๆ ให้ศิษย์ ตลอกจนการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ช่วยให้ศิษย์ศึกษาเล่าเรียนได้ดี

        2.3 บอกศิลปะให้สิ้นเชิงไม่ปิดบังอำพราง ครูต้องรับผิดชอบในศิลปะวิทยาการที่ตนสอน ต้องสอนในสิ่งที่ถูกต้อง มีความบริสุทธิ์ใจในการอบรมสั่งสอนไม่บิดเบือนวิชาการ

 2.4 ยกย่องให้ปรากฎในหมู่เพื่อน ครู

ต้องช่วยเร้าหรือเสริมกำลังใจให้แก่ศิษย์ในการศึกษาเล่าเรียน ศิษย์แต่ละคนย่อมมีความสามารถและความถนัดในบางด้าน ครูต้องช่วยส่งเสริมความสามารถพิเศษนั้นให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ครูต้องไม่ทำลายความภาคภูมิใจในตนเองของศิษย์

   2.5 ป้องกันภัยในทิศทั้งหลาย ครูมีหน้าที่ป้องกันศิษย์โดยการแนะนำสั่งสอนให้รู้จักคุณและโทษทางสิ่งต่างๆในชีวิต ป้องกันศิษย์ไม่ให้ตกไปในทางอุบายทุกอย่าง ซึ่งอาจทำได้ทั้งการประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อม คอยดูและให้ห่างไกลจากภัยทั้งหลาย

              หน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงประสงค์ของครู

    อาจวิเคราะห์หน้าที่ของครูจากระเบียนปฏิบัติราชการ การศึกษาสัมมนา และการวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของครูตามลักษณะงานครู หน้าที่ความรับผิดชอบของครุจากงานวิจัยต่างๆ ดังเช่น เฉลียว บุรีภักดีและคณะ (2520 : 235-240) วิจัยเรื่องลักษณะของครูที่ดีและสรุปได้ว่า ครูที่ดีจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

1.    หมั่นอบรมเด็กอยู่เสมอ

2.   ตั้งใจสอน รักการสอน

3.     จัดการปกครองให้เป็นที่เรียบร้อย

4.     เตรียมการสอน และทำการบันทึกการสอน

5.     หมั่นวัดผลและติดตามผลการเรียน

6.      รับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

7.      ช่วยให้คะแนะนำแก่เด็กด้วยความเต็มใจ

8.       สอนให้เด็กเป็นประชาธิปไตย

9.        ทำบัญชีรายชื่อ และสมุดประจำชั้น

10.      ดูแลบำรุงรักษาห้องเรียนและอาคารสถานที่

11.      เกี่ยวกับการสอน การอบรม การวัดผล

12.      เกี่ยวกับธรุการและระเบียนวินัย

13.      ค้นคว้าเพิ่มเติมและหาความรู้ใหม่ๆมาสอน

14.      สอนให้เด็กเป็นคนดี

15.      หมั่นหาความรู้และวิธีการหาความรู้

16.      เป็นตัวอย่างแก่เด็ก

17.      จัดการแนะแนวที่ดีแก่เด็ก

18.      ช่วยงานสารบรรณและธุรการโรงเรียน

19.      เอาใจใส่เด็ก

20.      บริการโรงเรียน

21.      เป็นครูประจำชั้น

22.      ทำระเบียนและสมุดรายงานนักเรียน

23.      มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

24.      ร่วมกิจกรรมชุมชน

25.      สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

26.      เอวใจใส่และพยายามเข้าใจปัญหาและความต้องการของเด็ก

27.      ช่วยประชาสัมพันธ์กิจการของโรงเรียนได้ดี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *