โรงเรียนบ้านแม่จัน(เชียงแสนประชานุสาสน์)
เกี่ยวกับโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนหลวง

โรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงแสนประชานุสาสน์) ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ 2 ถนนนาคพันธ์ ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2454 โดยหลวงสิทธิประศาสน์ (หรือ นายคลาย บุษบรรณ์) นายอำเภอแม่จันร่วมกับประชาชนอำเภอแม่จัน ภายใต้การปกครองที่เปลี่ยนแปลงจากเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม มาเป็นมณฑลพายัพอยู่ภายใต้การควบคุมของสยามประเทศอย่างเต็มตัว อาณาจักรเชียงแสนและล้านนาจึงถูกควบคุมตามระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลของสยามที่จัดตั้งในปี พ.ศ. 2442 เป็นเหตุให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2452 (ค.ศ.1909) อาณาจักรล้านนารวมถึงเชียงแสนไม่ได้เป็นรัฐอิสระอีกต่อไป ด้วยสยามได้แบ่งเขตแดนของตนกับอังกฤษและฝรั่งเศส อาณาจักรเชียงแสนเดิมจึงเป็นส่วนหนึ่งของล้านนาที่ถูกปกครองภายใต้ระบบการปกครองในมณฑลพายัพ ส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาจึงกลายเป็น 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 1) จังหวัดเชียงราย 2) จังหวัดเชียงใหม่3) จังหวัดลำพูน 4) จังหวัดพะเยา 5) จังหวัดลำปาง 6) จังหวัดแพร่ 7) จังหวัดน่าน และ 8) จังหวัดแม่ฮ่องสอน โรงเรียนบ้านแม่จัน(เชียงแสนประชานุสาสน์) ก่อตั้งในยุคสมัยของเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (เจ้าแก้วนวรัฐขึ้นครองเชียงใหม่) พ.ศ.2454 – 2482 ส่วนเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ.2424 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เจ้าอินต๊ะซึ่งครองเมืองลำพูน และเมืองลำปาง) และ เจ้ากาวิละ (เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่) นำราษฎรจาก เชียงใหม่ ลำพูน มาตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองเชียงแสนซึ่งถูกปล่อยรกร้าง และเรียกยุคนี้ว่า“ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” และโปรดเกล้าให้เจ้าอินต๊ะ ขึ้นครองเมืองเชียงแสน และพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระยาเดชดำรง ในปี พ.ศ. 2437 และ พ.ศ. 2442สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้นายไชยวงศ์ บุตรของพระยาเดชดำรง (เจ้าอินต๊ะ) สืบตระกูลแทนบิดา เป็นนายอำเภอแม่จัน ที่เรียกว่า “แขวงเชียงแสนหลวง”ซึ่งย้ายมาจากเมืองเชียงแสนมาตั้งอยู่ที่อำเภอแม่จัน พ.ศ.2453 รวมเมืองเชียงแสน เชียงราย ฝาง เวียงป่าเป้า พะเยา แม่ใจ ดอกคำใต้ แม่สรวย เชียงคำ และเชียงของ ซึ่งเป็นจังหวัดพายัพเหนือขึ้นเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า “จังหวัดเชียงราย”การเปลี่ยนการปกครองหัวเมืองพายัพ จึงเป็นช่วงที่มีการส่งข้าราชการจากกรุงสยามเข้ามาปกครองร่วมกับเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ และหลวงสิทธิประศาสน์ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการปกครองจากการเข้ารับราชการตำแหน่งสมุห์บัญชีอำเภอแม่ท่าช้าง(อ.หางดง) ภายหลังสยามมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นแบบระบบเทศาภิบาลจึงทำให้เมืองพะเยาซึ่งแต่เดิมมีเจ้าผู้ครองเมือง เป็นผู้ปกครองต้องถูกยุบเลิกตำแหน่งไปในที่สุด เมื่อปีพ.ศ. 2456 และมีการแต่งตั้งตำแหน่งนายอำเภอขึ้นมาแทนช่วงแรกที่ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองพระยาประเทศอุดรทิศเจ้าผู้ครองเมืองพะเยาองค์สุดท้ายได้ทำหน้าที่รักษาการนายอำเภอแต่ในปีเดียวกันนั้นเอง หลวงสิทธิประศาสน์ถูกโยกย้ายให้มารับตำแหน่งเป็น”ผู้รั้งนายอำเภอเมืองพะเยา” กระทั่งปี พ.ศ. 2457 จึงได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งเป็น “นายอำเภอเมืองพะเยา” และรับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนสิทธิประศาสน์” ภายหลังปีพ.ศ.2466ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสิทธิประศาสน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอแม่จัน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2468-2479ในปีพ.ศ. 2465 สมัยรัชกาลที่ 6 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้เสด็จหัวเมืองเหนือ และได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า“เชียงแสนประชานุสาสน์” เพราะเป็นโรงเรียนประจำของอำเภอเชียงแสน ในสมัยนั้น สำหรับผู้มาปกครองบริหารราชการ แขวงเชียงแสนหลวง หรือ อำเภอแม่จัน คนแรกคือ พระยาราชเดชดำรง(เจ้าไชยวงค์) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442 -2454 และ ช่วงปี พ.ศ. 2454 – 2466 นั้น ตามประวัติอำเภอแม่จันหรือ แขวงเชียงแสนหลวง พระแสนสิทธิ์เขตต์ (บุญสม อินทรลาวัณย์) เป็นผู้มาปกครองบริหารราชการ ดังนั้น การก่อตั้งโรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงแสนประชานุสาสน์) จึงเกิดขึ้นช่วงปลายการปกครองของพระยาราชเดชดำรง(เจ้าไชยวงค์) และตอนต้นของการปกครองของพระแสนสิทธิ์เขตต์จากการเสนอขอตั้งโรงเรียนในปี พ.ศ. 2454 โดย ขุนสิทธิประศาสน์ หรือ หลวงสิทธิประศาสน์ร่วมกับประชาชนก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว เปิดเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึง ป.4 ปีพ.ศ. 2457 อาคารเรียนได้ทรุดโทรมจึงได้ย้ายนักเรียนไปเรียนที่วัดกาสาในปีเดียวกันนี้ทางโรงเรียนได้รับ เงินศึกษาพลี มาทำการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 3 ก เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น 5 ห้องเรียน

(เชียงแสนประชานุสาสน์) จึงเกิดขึ้นช่วงปลายการปกครองของพระยาราชเดชดำรง (เจ้าไชยวงค์) และตอนต้นของการปกครองของ
พระแสนสิทธิ์เขตต์จากการเสนอขอตั้งโรงเรียนในปี พ.ศ. 2454 โดย ขุนสิทธิประศาสน์ หรือ หลวงสิทธิประศาสน์ร่วมกับประชาชนก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว เปิดเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึง ป.4 ปีพ.ศ. 2457 อาคารเรียนได้ทรุดโทรมจึงได้ย้ายนักเรียนไปเรียนที่วัดกาสาในปีเดียวกันนี้ทางโรงเรียนได้รับ เงินศึกษาพลี มาทำการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป. 3 ก เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น 5 ห้องเรียนพ.ศ. 2498 ได้รับงบประมาณหมวดค่าใช้สอย จำนวน 5,000 บาท ก่อสร้างโรงอาหาร 1 หลัง และได้ย้ายเปิดเรียนในอาคารใหม่ ในปีเดียวกันนี้ นายชัย เชื้อเจ็ดตน ได้มาดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่พ.ศ. 2499 ได้รับเงินค่าบำรุงภาษีท้องถิ่น ของอำเภอแม่จัน มาติดตั้งไฟฟ้า เป็นเงิน 500 บาท และได้งบประมาณจากจังหวัดมาดำเนินการต่อเติมอาคารเรียนอีกสี่หลัง เป็นเงิน 20,000 บาทพ.ศ. 2502 ทางกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอแม่จัน รวม 7 หมู่บ้าน ได้สละแรงงานและวัสดุมาปลูกสร้างอาคารเรียนชั่วคราว เพื่อขจัดความแออัดของนักเรียน เพิ่มเติมอีก 2 ห้องเรียน และได้ทำการรื้อถอดไปเมือปี พ.ศ.2504 แต่ปรับสร้างเป็น 3 ห้องเรียน และได้รับงบประมาณจากจังหวัดมาซ่อมแซมเพิ่มเติม 4,500 บาทพ.ศ. 2514 ได้รับงบประมาณมาก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก 8 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง และได้ย้ายนายฟื้น ธนาคง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่อาคารเรียนหลังใหม่นี้ได้เปิดใช้ทำการสอนในปีการศึกษา 2515 และดำเนินการขยายชั้นเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีเดียวกันนี้โรงเรียนได้จัดหาเงินรายได้มาสร้างรั้วสังกะสี ฐานคอนกรีตเสริมเหล็กด้านทิศตะวันตกจรดซอยสาธารณะประโยชน์มาสิ้นสุดที่บ้าน นางคำ ดวงทิพย์ และนายยงค์ ดวงคำใจ จรดเขตสถานีอนามัยอำเภอแม่จัน จนถึงห้องประชุมอำเภอแม่จันพ.ศ. 2516 ได้ขยายชั้นเรียน เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และได้งบประมาณมาก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 014 เป็นอาคารเรียนแบบถาวร 2 ชั้น ในปีเดียวกันนี้เองทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อเปิดโรงเรียนปะถมปลาย 2 โรงเรียน ติดกันกับโรงเรียนบ้านแม่จัน ซึ่งเป็นสังกัดกรมสามัญศึกษา ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุทางราชการจึงได้สั่งยุบโรงเรียนแม่จัน (บนดอย คือ โรงพยาบาลแม่จันปัจจุบัน) มารวมกับโรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงแสนประชานุสาสน์) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2517 เป็นการหลอมโรงเรียนแม่จัน(บนดอย) (เปิดสอน ป.5- ป.7) ใช้ธงโรงเรียนสี แดง-เหลือง รวมกับ โรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงแสนประชานุสาสน์) (เปิดสอน ป. 1-ป.4) ใช้ธงโรงเรียนสี เหลือง – น้ำเงิน เป็นโรงเรียนเดียวกันเปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.7 หลอมธงโรงเรียน เป็น แดง-เหลือง-น้ำเงิน ตั้งแต่นั้นมาซึ่งต่อมาโรงเรียนแห่งนี้เป็นที่รู้จักในนามของ โรงเรียนหลวง (เป็นโรงเรียนของรัฐบาล และมีเนื้อที่กว้างขวาง) นับแต่วันก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2565) มีอายุครบ 111 ปี โรงเรียนบ้านแม่จัน(เชียงแสนประชานุสาสน์) ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นโรงเรียนชั้นนำของจังหวัดเชียงราย และด้วยความร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาการศึกษาอย่างมีคุณภาพของบุคลากรทุกคนทำให้โรงเรียนแห่งนี้มีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา ปัจุบันโรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงแสนประชานุสาสน์) ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนักเรียนจำนวนมากมายเข้ามาศึกษาเล่าเรียน มีคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาร่วมพัฒนาโรงเรียนให้เคียงคู่ชาวอำเภอแม่จันสืบไป

ประวัติโรงเรียน โรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงแสนประชานุสาสน์)

          โรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงแสนประชานุสาสน์) ก่อตั้งขึ้นโดย หลวงสิทธิประศาสน์ นายอำเภอแม่จัน เมื่อปี พ.ศ. 2454 ร่วมกับประชาชนในชุมชนแม่จัน ปัจจุบันจัดการศึกษาในระดับอนุบาล ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ มีข้าราชการครู 65 คน อัตราจ้าง 37 คน บุคลากรอื่นๆและ ลูกจ้างทั่วไป 22คน และปัจจุบันมี  ดร.ธนเสฏฐ สุภากาศ  เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงแสนประชานุสาสน์) (ย่อ:บ.ม.จ.) เป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค ของประเทศไทยประเภท  สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนประจำอำเภอแม่จัน  

  คำขวัญโรงเรียน

สามัคคี มีวินัย ใฝ่สะอาด ปราชญ์วิชา กีฬาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม

ปรัชญาของโรงเรียน

ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์

สีประจำโรงเรียน

แดง-เหลือง-น้ำเงิน

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *